การที่มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2552 มีผลดีโดยตรงต่อ รพ.สต.จริงหรือไม่? คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนมีความเข้าใจ วิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่ของตนเองอย่างไร ตรงกับสภาพปัญหาจริงๆหรือไม่ รู้ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของประชาชนทั้งพื้นที่หรือไม่
ที่ผ่านมา ในปี 53 รพ.สต.โคกเพชร ใช้เงินบำรุงของ สอ.ในการจัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกันโรค ใช้งบประมาณไปร่วม หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาท รวมทั้งสิ้น 16 โครงการ ซึ่งถือได้ว่ามีความครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ แต่ เมื่อเกิดการมีส่วนร่วมกับ อบต.แต่งบประมาณไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยบริการสาธารณสุข ก็สุดแล้วแต่ว่าจะได้รับการจัดสรรอย่างไร แม้จะมี ประกาศออกมาในปี 2552 แต่พื้นที่บางแห่ง ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินงาน เพราะมองว่านั่น คือ ผลประโยชน์ที่ตนเองสมัครเข้าร่วมกองทุนสุขภาพ ก็แล้วแต่จะจัดการอย่างไร จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ หรือถ้าให้ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วแต่จะเมตตา
หากมีวิธีคิดที่ไม่ถูกต้องแบบนี้ ย่อมส่งผลที่ไม่ดีต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพของประชาชนอย่างแน่นอน และในบางพื้นที่ ที่ หน.หน่วยบริการปฐมภูมิไม่มีความรู้ความเข้าใจ เข้าไปมีส่วนร่วม ในการเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง จะเกิดผลดีต่อประชาชนได้อย่างไร
กิจกรรมด้านสาธารณสุขหลายกิจกรรม ถูก อบต.นำไปดำเนินการ ถ่ายภาพลวงตา ใช้งบประมาณเกินจริง มีให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง กิจกรรมการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จนท.สาสุข ต้องทำตามหน้าที่ ออกตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ออกเยี่ยมตรวจสุขภาพผู้พิการ ไม่มีเม็ดเงินในการทำงาน แต่ อบต.สามารถจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร ด้วยวงเงินเกือบแสน
สิ่งที่สำคัญ คือ หาก อบต.เห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างเข้าใจ บริหารจัดการในส่วนของ อบต.ไม่เกินร้อยละ 10 ตามเงื่อนไข ส่วนที่เหลือให้ รพ.สต.หรือ องค์กรภาคประชาชนได้ทำงานและจัดกิจกรรม เพื่อดูแลสุขภาพภาคประชาชนด้วยตนเอง น่าจะส่งผลดีตามเป้าหมายที่ สปสช.ต้องการhttp://tobt.nhso.go.th/index.php
ในปี 2554 เป็นปีแรก ของการเข้าร่วมกองทุนสุขภาพตำบล ของ รพ.สต.โคกเพชร ซึ่งก็ต้องมาติดตามกันดูว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้จะส่งผลดีต่อการทำงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่หรือไม่ เราคงต้องให้กำลังใจตัวเอง และให้กำลังใจทีมงาน ให้มากๆ เพื่อจะได้มีเรี่ยวแรงก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ โดยมีเป้าหมาย คือ การได้มีส่วนในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น