ธรรมมะในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
( รพ.สต.โคกเพชรอ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ )
บรรดานักปกครองและนักบริหารส่วนใหญ่มักจะมีที่ถกเถียงกันเสมอว่าหลักการสำคัญ ในการบริหารและการปกครองนั้น คือ เราได้สัมมนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้ร่วมกันถกแถลงมามากมายแล้วแต่ในที่สุดก็มีผู้เสนอว่าหน้าที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ธรรมะแม้แต่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระปฐมบรมราโชวาท “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม”
ดังนั้นการปกครองและการพัฒนาในยุคนี้น่าจะต้องเริ่มที่การใช้หลักธรรมะเป็นผู้ชี้นำในการ ปกครองในการบริหารจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงแก่ผู้อยู่ใต้การปกครองและรวมไปถึงผู้ร่วมงานด้วยทุกระดับชั้นที่ใดมีธรรมะที่นั่นยอมเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดอย่างชัดเจนดังนี้
จึงเป็นข้อเตือนใจว่าธรรมะเป็นศูนย์รวมเป็นหลักนำชัยสู่การปกครองและการพัฒนาการบริหารในทุกระดับทุกขั้นตอนอีกด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร มีบุคลากร จำนวน 6 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน ลูกจ้าง 3 คน ทำงานร่วมกับเครือข่ายมากมาย ทั้งฝ่ายท้องที่และฝ่ายท้องถิ่น และฝ่ายของประชาชน ความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการติดต่อประสานงาน การทำงานร่วมกัน ต้องมีการพิจารณาใช้หลักธรรมมะ มาใช้ในการครองคนครองงาน ประกอบด้วย หลักธรรม ดังต่อไปนี้
พรหมวิหาร เป็นธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหมหรือเป็นธรรมประจำใจของผู้ใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าคนพึงทีต่อผู้น้อยหรือธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติพรหมวิหารมี 4 ประการคือ
1. เมตตาความรักคือความปรารถนาดีมีไมตรีต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และความสุข
2. กรุณาความสงสารคืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือนร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง
3. มุทิตาความเบิกบานพลอยยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นดีมีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบานเมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จงอกงามยิ่งขึ้นไปก็พลอยยินดีบันเทิงใจด้วย
4. อุเบกขาความมีใจเป็นกลางคือมองตามเป็นจริงโดยวางจิตเรียบสม่ำเสมอมั่นคงเที่ยงตรงดุจตาชั่งมองเห็นการที่บุคคลจะได้รับผลดีหรือชั่วสมควรแก่เหตุที่ตนประกอบพร้อมที่จะวินิจฉัยวางตนและปฏิบัติไปตามความเที่ยงธรรมไม่มีอคติปลงใจได้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน “ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดีผู้ทำ ความชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”
สังคหวัตถุ 4
เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคนหรือธรรมเพื่อให้ตนเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนทั่วไปเป็นเครื่องสงเคราะห์โลกสงเคราะห์ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้เป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ประดุจสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้สังหวัตถุมี 4 ประการคือ
1. ทานการให้คือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน
2. ปิยวาจาหมายถึงวาจาเป็นที่รักวาจาดูดดื่มน้ำใจหรือวาจาซาบซึ้งใจน่าฟังชี้แจงแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจสมานสามัคคีเกิดไมตรีทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. อัตถจริยาการประพฤติประโยชน์คือขวนขวายช่วยเหลือกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม
4. สมานัตตตาความมีตนเสมอคือทำตนเสมอต้นเสมอปลายปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลายและเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไขตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะภาวะบุคคลเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
ทิศ 6
ทิศ 6 คือบุคคล 6 ประเภทที่อยู่รอบตัวเราได้แก่มารดาบิดาครูอาจารย์บุตรภรรยามิตรสหายคนรับใช้และผู้ใต้บังคับบัญชาและพระสงฆ์สมณพราหมณ์บุคคลประเภทต่างๆดังกล่าวมาแล้วเราจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัวถ้าจะเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันก็คือ “หลักมนุษยสัมพันธ์” นั่นเอง
ทิศ 6 เป็นธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการครองตนครองคนครองงานได้เป็นอย่างดีประกอบด้วย
1. ปุรัตถิมทิสคือทิศเบื้องหน้ามารดาบิดา
2. ทักษิณทิสคือทิศเบื้องขวาครูอาจารย์
3. ปัจฉิมทิสคือทิศเบื้องหลังบุตรภรรยา
4. อุตตรทิสคือทิศเบื้องซ้ายมิตรสหาย
5. เหฏฐิมทิสคือทิศเบื้องต่ำบ่าวคนใช้
6. อุปริมทิสคือทิศเบื้องบนพระสงฆ์
หลักธรรมที่ใช้ผูกใจคนให้เป็นมิตรมี 4 ประการคือ
1. สัจจคือการตั้งอยู่ในความสัตย์
2. ธมโมคือการรู้จักบาปบุญคุณโทษประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
3. ธิถิคือความเพียร
4. จาโคคือความยินดีในการบริจาค
1. ชนะคนโกรธโดยไม่โกรธ
2. ชนะคนไม่ดีด้วยความดี
3. ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
4. ชนะคนพูดปดด้วยการพูดจริง
5. ชนะคนฐานะสูงด้วยการยกมือไหว้
6. ชนะคนต่ำโดยให้ของเล็กๆน้อยๆ
7. ชนะคนกล้าโดยให้แตกความสามัคคี
8. ชนะคนเสมอกันโดยการขันสู้ (ในทางดี)
หลักในการดำเนินชีวิต การครองคน
ยึดมั่นในกฎระเบียบวินัยข้าราชการอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี แก่ ผู้อื่นและผู้ใต้บังคับบัญชามีการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาแบบพี่ปกครองน้องแบบพ่อปกครองลูกดูแลเอาใจใส่เอื้ออาทรให้โอกาสการทำงานรับฟังความคิดเห็นและให้คำปรึกษากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรู้ความสามารถในการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ราชการให้สูงขึ้น
ศึกษาดูงานที่ภาคเหนือ ปี 2554 |
สำหรับทีมงาน รพ.สต.โคกเพชร แล้ว การใช้หลักธรรมนำมาปฏิบัติ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอค่ะ เพราะพวกเรา มีการอยู่ร่วมกันแบบหลากหลายรูปแบบ หลากหลายอายุ และที่สำคัญหลากหลายความคิด แต่อย่างไรก็ตาม พวกเราจะพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการค่ะ
1. หลักธรรมร่วมกัน
① การทำตนเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
n การดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง
n การดำเนินชีวิตของครอบครัว
n ความมีคุณสมบัติของผู้ดี
n ความห่างไกลอบายมุข กิเลส
n ใฝ่รู้ ใฝ่เจริญ พัฒนาตนเอง
n ความรับผิดชอบ ทำงานเพื่องาน
n ตรง ซื่อสัตย์ ประพฤติชอบ
n ประชาธิปไตย กล้าหาญ ทางจริยธรรม ปราศจากอคติ
n ช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม
n เสมอต้น เสมอปลาย
② รู้คน
n รู้จริตของเพื่อนร่วมงาน
n ใช้งานให้เหมาะกับจริตเขา
③ รู้สภาวะของตน
n สนองความต้องการของคน
n เพื่อให้เกิดการทำความดี
n เป็นหลักให้พึ่งพา
n ร่วมพัฒนาชีวิตตนและชุมชน
④ ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์
n สร้างความเป็นกันเอง
n พูดจาด้วยความสุภาพอ่อนโยน
n อารมณ์ขัน
n ร่าเริงแจ่มใส
n ยิ้ม
⑤ สร้างน้ำใจในที่ทำงาน
n ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
n ใช้งานเหมาะสมกับความสามารถ
n สร้างความรู้สึกร่วม
n ให้ความช่วยเหลือตามสมควร
n จัดสวัสดิการและดูแลสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
มีจิตเมตตา และขยายเครือข่ายสู่ประชาชนในพื้นที่ |
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น