24-26 ต.ค.56 ในนามของการทำงานองค์กรใจสู้รู้รักสุขภาพ องค์กรที่ทำงานด้านการดูแลผู้ด้อยโอกาสในตำบลโคกเพชร ซึ่งมี รพ.สต.โคกเพชรเป็นศูนย์ประสานงาน ได้รับเกียรติเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคปรพชาชน เพื่อการถอดบทเรียน สรุปบทเรียนจากการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กับการจัดสวัสดิการชุมชน" ณ โรงแรมยโสธรออคิดการ์เด้น จังหวัดยโสธร
พื้นที่ดำเนินการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ บึงกาฬ
 |
เครือข่ายพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จ.ศรีสะเกษ |
 |
เพ็ญทิวา สารบุตร นำเสนอโครงการเพื่อผู้ด้อยโอกาส |
 |
คุณนิภา คงเพชร พมจ.ศรีสะเกษ
คุณเพ็ญทิวา สารบุตร ผู้ประสานงานองค์กร/กองทุนสวัสดิการตำบลโคกเพชร |
ดร.อัญชลี มีมุข คอนวิซำ เป็นวิทยากรในหลักในการอบรมครั้งนี้
 |
ดร.อัญชลี มีมุข คอนวิซำ
การเดินทางไปเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ จ.ศรีสะเกษ มีบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 5 คน รวมกับ คุณนิภา คงเพชร พมจ.ศรีสะเกษ ที่เป็นหัวหน้าคณะพาพวกเราเดินทางไปด้วย
วันแรกของการอบรม 24 ต.ค.56 เป็นเรื่องของกระบวนการประกอบด้วย การทำ AAR (After Action Review ) ของโครงการต้นแบบที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่ง องค์กรใจสู้รู้รักสุขภาพ ได้ทำ AAR โครงการครอบครัวสัมพันธ์ สานฝันผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ท่าน ดร.อัญชลี อธิบายแนวคิด หลักการ และความสำคัญของ AAR ดังนี้
1. AAR เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการถอดบทเรียน (Lesson Learned) ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการวิเคราะห์ อ่านสภาพการณ์ ปรับแนวทางการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา สร้างวัฒนธํรรมในการใช้ความรู้ในการปฏิบัติและกำกับการทำงาน ซึ่งเรียกความรู้นี้ว่า "Actionable Knowledge"
2. AAR เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรม ที่ปฏิบัติไปแล้วเพื่อ
2.1 หาแนวทางรักษาจุดแข็งหรือข้อดีของการปฏิบัติิงานเอาไว้ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำแนวทางปฏิบัติที่ดีไปประยุกต์ปฏิบัติการต่อเนื่อง
2.2 หาแนวทางหลีกเลี่ยงความผิดพลาดซ้ำรอย
2.3 หาแนวทางการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
3. AAR เป็นกลไกเพื่อการเรียนรู้ ปรับตัวในโครงการพัฒนา เมื่อโครงการดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง โดยมุ่งเรื่องการเรียนรู้ที่ทันเวลา (Just in Time Learning) หรือเปรียบเทียบกับการตีเหล็กที่กำลังร้อนนั่นเอง
จากการทำ AAR ทำให้เรารู้ว่า สิ่งดีดีที่จะทำต่อไปคืออะไร สิ่งไม่ดีที่เราไม่ควรทำต่อไปคืออะไร นั่นหมายถึงการรับรู้สถานการณ์ของการทำงานในปัจจุบันขององค์กรของเรานั่นเอง
วันที่สองของการอบรม 25 ต.ค.56 เป็นการฟังบรรยายเรื่องของยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การบริหารโครงการ การเขียนโครงการ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวง และยุทธศาสตร์ของจังหวัด ในประเด็นนั้นๆที่เราจะเสนอของบประมาณ ได้มีการแบ่งกลุ่มเขียนโครงการในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
วันที่สามของการอบรม เป็นวันสุดท้ายของกิจกรรม เป็นการฟังบรรยาย "หลักการและแนวทางการพิจารณาโครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมตามกระบวนการพิจารณาของอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ" แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการ ท่าน ดร.อัญชลี ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะให้นำไปปรับแก้ไขและส่งให้ตรวจโครงการอีกครั้งก่อนการส่งโครงการ
ท้ายที่สุดต้องขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการอบรมที่มีคุณค่ายิ่งและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงเพื่่อพี่น้องประชาชน ขอบพระคุณ คุณนิภา คงเพชร พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ จ.ศรีสะเกษ ที่ให้ความอนุเคราะห์ในทุกๆด้านเป็นอย่างดียิ่ง ดังที่เคยมีคนกล่าวว่า " คิดอะไรไม่ออกบอก พม." น่าจะเป็นเรื่องจริง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น