![]() | |
คำสั่งโครงการส่งเสริมประชาชนลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน |
![]() | ||
คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ คลินิกสุขภาพเกษตรกร ตำบลโคกเพชร |
![]() |
คลินิกสุขภาพเกษตรกร มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและมีคำแนะนำดีดีสำหรับเกษตรกร |
ความเป็นมาของปัญหา
สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพของเกษตรกรที่พบโรคและอาการผิดปกติเนื่องจากการประกอบอาชีพมีมากขึ้น เช่น โรคเปโตสไปโรซีส โรคแพ้สารเคมี หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ ตกจากรถไถคอยาว มีบาดแผลจากเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งพบเป็นประจำทุกปี
ปัญหาที่พบมากในเขตตำบลโคกเพชร ได้แก่
1.เกษตรกรขาดการจัดการเวลาอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่จะให้้เวลาของงานมากกว่าเวลาของครอบครัว อยู่ที่ไร่ที่นาตั้งแต่เช้าจนค่ำ มีเวลาให้กับครอบครัวเพียงเ็ล็กน้อย ที่จะพร้อมหน้าพร้อมตากัน ก่อให้เกิดความไม่อบอุ่นภายในครอบครัวตามมา ไม่มีเวลาให้บุตรหลานและคนในครอบครัว
2. เกษตรกรดื่มสุราเป็นประจำโดยเฉพาะในฤดูกาลทำนา จะมีการจัดเตรียมสุราไว้สำหรับเกษตรกรที่ถูกว่าจ้าง อย่างเต็มที่ เน้นเรื่องสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอ์มากเกินความจำเป็น จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา เช่น อุบัติเหตุ หรือ การอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ วิตกกังวล เป็นต้้น
3. เกษตรกรมีภาวะเครียดสูงจากการไม่ได้รับเงิน-รายได้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินเป็นส่วนประกอบหนึ่งของชีวิต ถือว่า เป็นทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพแต่ละครั้ง ค่าปุ๋ย ค่าไถ ค่าเกี่ยว ต้องใช้เงินทุกช่วงเวลา หากไม่ได้เงินตามเวลาที่ควรจะเป็นเกษตรกรจะค่อนข้างเครียดมาก พบ อาการนอนไม่หลับ กินอาหารไม่ค่อยได้ บางรายหันไปพึ่งสุราเพื่อลดความเครียด
4. โรคระบาดจากการประกอบอาชีพ ได้แก่ โรคฉี่หนู มีพบเป็นประจำทุกปี เนื่องจากประชาชนไปหาปลาที่แหล่งน้ำเป็นประจำ และแหล่งน้ำดังกล่าว มีสัตว์เี้ลี้ยง เช่น หมา วัว ควาย ลงไปใช้งานด้วย จึงพบโรคได้ง่าย และที่สำคัญ บางรายไปหาปลาเป็นทีมและมีการดื่มสุราร่วมด้วย จึงแช่น้ำจนเพลินมากกว่า 2 ชม.ขึ้นไป มีแผลโดยไม่ทราบตามร่างกาย ทำให้เชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น เมื่อขึ้นจากน้ำไม่รีบน้ำและทำความสะอาดร่างกาย ทำให้เป็นโรคระบาดตามมา
เมื่อ 19 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยโรคฉี่หนูจากการหาปลามากินช่วงเทศกาลจำนวน 1 ราย ที่บ้านระกา หมู่ที่ 5 และในทีม มีการไปหาปลาร่วมกันอีก 6 คน ซึ่งต้องติดตามเฝ้าระวังจนครบ 30 วัน
6. อาการแพ้สารเคมี พบบ่อย ในช่วงที่มีการเก็บพริก มีเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไป ไปรับจ้างเก็บพริก และมาที่ รพสต.ด้วยอาการวิงเวียน คลื่นไส้ มีผื่นคันตามร่างกาย ออกร้อนตามผิวหนัง เกษตรกรหรือต้องมีการป้องกันอย่างเหมาะสม ในกลุ่มผู้ปลูกต้องมีการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีลง ส่วนกลุ่มผู้รับจ้าง ต้องมีการป้องกันอย่างถูกต้อง
จากการลงพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมีตามแบบประเมิน พบว่า เกษตรกรบางรายไม่มีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีในเลือดแต่ไปพบในกลุ่มผู้รับจ้างเก็บ
ในกลุ่มผู้รับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้าในตำบลโคกเพชร มีจำนวน 4-5 ราย ซึ่งเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวนี้จะต้องได้รับคำแนะนำเป็นพิเศษ แต่เราพบว่า ผลเลือด มีความเสี่ยงต่ำ หากไปสังเกตพฤติกรรมพบว่า เกษตรกรกลุ่มนี้มีการป้องกันตัวอย่างถูกต้อง ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรง มีหน้ากากปิดจมูกหรือใบหน้า มีถุงมือ ใช้รถบรรจุภาชนะในการฉีด ตัวผู้ฉีดจะอยู่ห่างจากบริเวณที่มีการพ่นสารเคมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ซึ่งโอกาสในการสัมผัสสารเคมีจะลดลง ทำให้ตรวจเลือดไม่พบ แต่ สารเคมีมีหลายชนิด บางชนิดตรวจด้วยวิธีเจาะเืลือดที่ปลายนิ้วไม่พบ อาจจะต้องตรวจด้วยวิธีอื่น
7. อุบัติเหตุจากการทำงาน มีพบเป็นประจำทุกปี ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและเมาสุรา ซึ่งปัจจุบัน รพสต.โคกเพชร ร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลโคกเพชร สภาองค์กรชุมชนตำบลโคกเพชร กำััลังให้ความสำคัญในการชักชวนเกษตรกรผู้ติดสุราในชุมชนลด ละ เลิก สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงให้ได้ เพื่อให้มีความปลอดภัยในชีวิต คุณภาพชีวิต คุณภาพครอบครัวของเกษตรกรน่าจะดีขึ้น
แนวทางการแก้ไข 1.การจัดการเวลาอย่างเหมาะสม ในภาพรวมต้องให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับโปรแกรมของนาฬิกาชีวิต การจัดการเวลาของชีวิตและเวลาของครอบครัว เน้นในครอบครัวเกษตรกรที่เสี่ยงต่อความไม่เข้าใจ และครอบครัวเกษตรกรทั้งหมด ใช้เวลาในการประชุม-อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว 2.โครงการลด ละ เลิก สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคัดกรองการดื่มสุราทำให้เกษตรกรที่ดื่มสุรารู้ว่าตนเอง ดื่มสุราอยู่ในระดับใด การใช้โปรแกรมลด ละ เลิก สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยได้ เพราะให้คนในครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมให้กำัลังใจ เพื่อให้เป็นชุมชนปลอดสุรา 3.ลดความเครียดในเกษตรกร แนะนำให้สุขศึกษาสำหรับการเกษตรกรเพื่อให้มีความสัมพันธภาพที่่ดีภายในครอบครัว ให้มีการปรับตัวต่อสิ่งเปลี่ยนแปลง ปรับตัวตามสถานการณ์ให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเสมอ เพราะถือเป็นธรรมชาติของชีวิตของทุกคนที่จะต้องพบกับปัญหา แต่มีทางแก้ไขเสมอ 4.โรคระบาดในชุมชน เกษตรกรต้องเฝ้าระวังตนเองและสมาชิกในครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาด ต้องรู้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคระบาดคืออะไร จะมีการป้องกันอย่างไร มีอาการผิดปกติอย่างไร จะสามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง 5.โรคเรื้อรัง เกษตรกรให้ความสำคัญในการปรับวิถีชีวิตของตนเองอย่างเหมาะสมตามแนวทาง 3 อ.หรือ 6 อ. เพื่อให้มีความปลอดภัยจากโรคเรื้อรังหรือควบคุมโรคให้ได้ 6.อาการแพ้สารเคมี ใน รพสต.จัดคลินิกสุขภาพเกษตรกร ไว้สำหรับให้คำปรึกษา คัดกรอง เจาะเลือด แนะนำการลดการใช้สารเคมีโดยใช้สิ่งอื่นทดแทน 7.ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน เกษตรกรต้องไม่ประมาทในการทำกิจกรรมประกอบอาชีพ ต้องมีสติอยู่เสมอ และพยายามอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการทำงานอยู่เพราะ พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ![]() |
บริเวณที่หาปลาที่ห้วยระกา |
![]() | |||
สัมภาษณ์บิดาของผู้ป่วย |
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น