![]() |
สรุปจากการเจาะเลือดเกษตรกรในพื้นที่ตำบลโคกเพชร จำนวน 167 ราย |
ผลการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เก็บข้อมูลในวันที่ 6-10 กรกฎาคม
2556 ในเขตพื้นที่ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ
ตำบลโคกเพชร
รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน จำนวน 1,122 หลังคาเรือน มีประชากร 4,914 คน มี
รพสต.1 แห่ง บุคลากร จำนวน 6 คน อสม. จำนวน 110 คน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
กลุ่มเป้าหมายจำนวน 167 ราย อายุน้อยที่สุด 15 ปี อายุมากที่สุด 73 ปี
อายุเฉลี่ย 47.51 ปี
เป็นเพศชายจำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.73 เป็นเพศหญิง 109 ราย
คิดเป็นร้อยละ 65.27
ส่วนที่ 2 ข้อมูลการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการปฏิบัติในขณะทำงาน
(กลุ่มเป้าหมายทำได้หลายกิจกรรม)
ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่นหรือสัมผัสผักผลไม้ที่ฉีดพ่น
เช่น เก็บเกี่ยว มัดกำ ห่อ บรรจุ จำนวน 112
ราย คิดเป็นร้อยละ 55.72 เป็นผู้ผสมสารเคมี จำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.38 เป็นผู้ฉีดพ่นเอง จำนวน 40
ราย คิดเป็นร้อยละ 19.90
ส่วนที่ 3 ข้อมูลความเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในรอบ
1 ปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มเป้าหมายไม่มีอาการผิดปกติ คิดเป็น ร้อยละ
20.96 มีอาการเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68.26
มีอาการเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 10.78
ส่วนที่ 4 อยู่ด้านล่างนะคะ
ส่วนที่ 5 การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง เหตุผลที่เข้าร่วมการตรวจคัดกรอง
กลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง
จำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.34
มีความเสี่ยงสูง จำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.35 มีความเสี่ยงสูงมาก ไม่มี มีความประสงค์รับบริการ จำนวน 64 ราย คิดเป็นร้อยละ
38.32
ส่วนที่ 6 การปฏิบัติอื่นๆ
6.1
ด้านการให้ความรู้/คำแนะนำ การป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช จำนวน 167
ราย คิดเป็นร้อยละ100 วิธีการ้างผักให้ปลอดภัย จำนวน 167 ราย คิดเป็นร้อยละ100
6.2
ด้านสิ่งสนับสนุน เอกสารแผ่นพับความรู้ จำนวน 167 ราย คิดเป็นร้อยละ100 ยาสมุนไพรชาชงรางจืด
จำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.72
ส่วนที่ 7 ข้อเสนอแนะ
7.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการประเมินการใช้สารเคมีร่วมกับ
อสม.ให้สามารถประเมินได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด
7.2 หลังการตรวจเลือด
ควรมีการติดตามผลภายหลังการให้สุขศึกษาหรือการให้ยาสมุนไพรแล้ว เพื่อติดตามประเมินผลของกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมได้ดำเนินการไปแล้ว
7.3 ในรายที่เจาะเลือดแล้วพบมีความเสี่ยงสูงจะได้รับการติดตามสังเกต
พฤติกรรมอย่างต่อเนื่องโดยสมาชิกในครอบครัวและ อสม. เพื่อตักเตือน /เตือนสติ จะได้สามารถลดความเสี่ยงในการสัมผัส
หรือการเกิดโรคจากสารเคมีลงได้
7.4
แนะนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลดการใช้สารเคมีอย่างจริงจัง
ส่วนที่
8 เครือข่ายและการประชาสัมพันธ์
8.1 ติดตามผลการดำเนินงานคลินิกสุขภาพเกษตรกร
ตำบลโคกเพชร ได้ที่นี่
8.2 ขอบคุณ เภสัชกรเด่นชัย ดอกพอง
เภสัชกรชำนาญการจากโรงพยาบาลขุขันธ์ ที่ให้การสนับสนุนข้อมูล
แนวทางในการทำงานคลินิกเกษตรกรใน รพสต. คุณสุเพียร คำวงศ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน ผู้รับผิดชอบงาน สสอ.ขุขันธ์ และสถาบันวิจัยชาวนา ที่ลงพื้นที่มาช่วยงานภาคชุมชนร่วมกับทีมงาน
อสม. และ เจ้าหน้าที่ รพสต.โคกเพชร อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น