การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เน้น
คุณภาพชีวิตครอบครัว ของกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองเด็กที่มีบุตรหลานอายุ 10 -14 ปี กลุ่มเสี่ยงที่จะก่อปัญหาในชุมชนตำบลโคกเพชร จำนวน 20 ครอบครัว 70 คน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพครอบครัว ที่ดัดแปลงจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตสมรสในครอบครัว ของกรมสุขภาพจิต และกระบวนการเสวนาแลกเปลี่ยนภาระบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกในช่วงวัยเจริญเติบโต (Focus Group) ภายใต้โครงการกวดวิชาพ่อแม่สานรักลูกวัยรุ่นลดปัญหาพ่อแม่รังแกฉัน ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2554 งบประมาณ 103,000 บาท (หนึ่งแสนสามพันบาทถ้วน)
เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายน 2554 ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กได้ทบทวนบทบาทของตนเองในครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว มีประเด็นในการทบทวน 6 ด้าน ดังนี้
1. การชื่นชมคุณค่าบุตรหลานและสมาชิกในครอบครัว
2. การมีเวลาอยู่ร่วมกัน
3. การเต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว
4. การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
5. การมีศรัทธาต่อศาสนา
6. การใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤติการณ์ในครอบครัว
ผลการศึกษา พบว่า ด้านการชื่นชมคุณค่าบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ มีการชื่นชมคุณค่าบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 75.20 mean = 3.75 การจัดระดับความคิดเห็น อยู่ใน ระดับมาก ด้านการมีเวลาอยู่ร่วมกัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้เวลาอยู่ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 77.43 mean= 3.87 การจัดระดับความคิดเห็น อยู่ใน ระดับมาก ด้านการเต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่เต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 82.74 mean = 4.14 อยู่ใน ระดับมากที่สุด ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 76.17 mean= 3.81 อยู่ใน ระดับมาก ด้านการมีศรัทธาต่อศาสนาของคนในครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ศรัทธาต่อศาสนาของคนในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 72.40 mean = 3.62 อยู่ใน ระดับมาก และด้านการใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤตการณ์ในครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤตการณ์ในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 72.69 mean = 3.63 อยู่ใน ระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
ประเด็นที่น่าสนใจ จากการศึกษาครั้งนี้
1. ด้านการมีเวลาอยู่ร่วมกัน พบว่า สมาชิกในครอบครัวพร้อมที่จะให้เวลาพูดคุยกันเพียงร้อยละ 69.43, mean = 3.47 มีความคิดเห็นระดับปานกลาง และสมาชิกในครอบครัวใช้เวลาว่างในการพักผ่อนด้วยกัน เพียงร้อยละ 68.29, mean = 3.41 สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมครอบครัวในตำบลโคกเพชร ที่จะต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการให้ความสำคัญกับการจัดการเวลาในครอบครัวมากขึ้น จนเหมาะสมต่อไป
2. ด้านการมีศรัทธาต่อศาสนา พบว่า สมาชิกในครอบครัวมีการใช้หลักธรรมในการแก้ไขปัญหา เพียงร้อยละ 64.86 , mean = 3.24 มีความคิดเห็นระดับปานกลาง สะท้อนให้เกิดการเรียนรู้สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกระแสสังคมโลก สมาชิกในครอบครัวให้การนำหลักศาสนามาใช้น้อยลง ควรได้มีการส่งเสริมและนำธรรมะเข้าสู่การปฏิบัติในครอบครัว เพื่อเยียวยาความรุนแรงและสภาพปัญหาในสังคมปัจจุบัน
3. ด้านการใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤติการณ์ในครอบครัว พบว่า สมาชิกในครอบครัวมีวิธีการในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา คิดเป็นร้อยละ 68.57, mean = 3.43 มีความคิดเห็นระดับปานกลาง ข้อมูลที่พบจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสะท้อนกลับสู่สังคมในตำบลโคกเพชร ให้ค้นหาศักยภาพครอบครัวของตนเอง เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาครอบครัวอย่างเหมาะสมต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น