สรุปผลการดำเนินงาน
ตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วย
๖ อ. และส่งเสริมการออกกำลังกายทุกกลุ่มวัย
ตำบลโคกเพชร
ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
สถานที่
หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร
หลักการและเหตุผล
การสูญเสียปีสุขภาวะเปลี่ยนจากโรคติดต่อไปเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
สาเหตุการตายที่พบสูงสุดในผู้ชายไทย คือ อุบัติเหตุจราจร มะเร็งตับ
และหลอดเลือดสมอง ขณะที่เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็งตับ
เป็นสาเหตุการตายที่พบสูงสุดในเพศจริงจะเห็นได้ว่า
โรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งเบาหวาน
เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในปี ๒๕๖๐
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนทุกกลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังในตำบล ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
จึงได้มีการส่งเสริมการใช้กิจกรรม ๖ อ. ในทุกครอบครัว
เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ลดอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร
จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วย ๖ อ.
และส่งเสริมการออกกำลังกายทุกกลุ่มวัย ตำบลโคกเพชร ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้อง
โดยเน้น ๖ อ. แก่กลุ่มปกติและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
๒
เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชนกับประชนทุกกลุ่มวัยเพิ่มการเคลื่อนไหว
ลดภาวะอ้วน ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง
๓ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
มากกว่าร้อยละ ๘๐
กลุ่มเป้าหมาย
- วัยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า ๑๙ ปี หมู่ละ ๕ คน
- วัยแรงงานไป๑๙ – ๕๙ ปี หมู่ละ ๑๐ คน
- ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป หมู่ละ ๕ คน
- ประชาชนในหมู่บ้านทุกกลุ่มวัย หมู่ละ ๒๐ คน
ทั้งหมด
๑๑ หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น
๒๒๐ คน
ระยะเวลาการดำเนินการ
๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
– ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
การดำเนินการ
๑ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานประชากรตามกลุ่มวัย
ศึกษาสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวางแผนในการแก้ไขปัญหา
จัดทำโครงการโดยนักวิชาการสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงาน
๒ เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
๓
ได้รับการอุดหนุนงบประมาณดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๓.๑ อบรมแกนนำสุขภาพหมู่บ้าน
จำนวน ๕๕ คน จำนวน ๑ คน
๓.๒
จัดกิจกรรมประชุมนำเสนอรูปแบบการออกกำลังกาย หมู่บ้านละ ๑๕ คน จำนวน ๑ วัน
๓.๓
แยกกลุ่มประชาชนตามลูกปิงปอง ๗ สี
ประเมินผลโครงการ
ประเมินผลกระบวนการดังนี้
๑ เปรียบเทียบความรู้
ความเข้าใจและพฤติกรรมในการออกกำลังกายของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
๒
สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชน
๓ ประชาชนมีการมาคัดกรองหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตมากกว่าร้อยละ
๙๐
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น